คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
หมาย
ถึง
เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle)
ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง
(Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า
Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์
และเข็มชี้ เช่น
การวัดค่าความยาว
โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอท
เปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว
นอกจาก นี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
นอกจาก นี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล
(Digital
Computer)
ซึ่ง
ก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ
ไปนั่นเอง
เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะ
การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง
(Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า
หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ
(Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน
ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง
เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก
Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้)
ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง
จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า
(Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน
เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น
Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป
โดยส่วนประกอบสำคัญ ที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
โดยส่วนประกอบสำคัญ ที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม
(Hybrid
Computer)
เครื่อง
ประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน
ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ
โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น
เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog
Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer
ในการคำนวณระยะทาง
เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสาน ของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
การทำงานแบบผสมผสาน ของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ประเภท
ของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานจำแนกได้เป็น
2 ประเภท
คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special
Purpose Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบตัวเครื่องและโปรแกรมควบคุมให้ทำงานอย่าง
ใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ
(Inflexible)
โดยทั่วไปมักใช้ในงานควบคุมหรืองานอุตสาหกรรมที่เน้นการประมวลผลแบบรวดเร็ว
เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมสัญญาณไฟจราจร
คอมพิวเตอร์ควบคุมลิฟท์หรือคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบอัตโนมัติในรถยนต์
เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General
Purpose Computer)
หมายถึง
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible)
โดยได้รับการออกแบบให้สามารถประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ
ได้โดยสะดวกโดยระบบจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาและเมื่อผู้ใช้
ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็เพียงแต่ออกคำสั่งเรียกโปรแกรมที่
เหมาะสมเข้ามาใช้งานโดยเราสามารถเก็บโปรแกรมไว้หลายโปรแกรมในเครื่องเดียว
กันได้
เช่นในขณะหนึ่งเราอาจใช้เครื่องนี้ในงานประมวลผลเกี่ยวกับระบบบัญชีและในขณะ
หนึ่งก็สามารถใช้ในการออกเช็คเงินเดือนได้
เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์ตาม ความสามารถของระบบ
จำแนกออกได้เป็น
4
ชนิด
โดยพิจารณาจาก
ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ
ความเร็วในการประมวลผล
เป็นหลัก ดังนี้
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super
Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความ
สามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้าน
วิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง
เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม
หรืองานพยากรณ์อากาศ
เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe
Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วน
ความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นใน
ตระกูล
(Family)
เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ
นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี
โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง
(Terminal) จำนวนมากได้
สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking)
และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน
(Multi
User)
ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึง
หลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ
คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้
ATM
และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini
Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็น
ต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนา
คอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง
เรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์
ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง
(Harddisk)
ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้
ได้แก่
กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า
โรงแรม โรงพยาบาล
และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro
Computer)
หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและ
ความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว
จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal
Computer : PC)
ปัจจุบัน
ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่า
เครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน
นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก
ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา
และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็น
บริษัทแรก
คือบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์เคติด https://sites.google.com/site/kamonchanok11751/
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon